บริการทดสอบและตรวจสอบ
ประเภทและอัตราการให้บริการวิชาการทดสอบและตรวจสอบ
ลำดับ | ประเภทการให้บริการวิชาการทดสอบและตรวจสอบ | ราคา (บาท) | ผู้รับผิดชอบ | |||
---|---|---|---|---|---|---|
บุคลากร มจพ. | สถาบัน การศึกษาอื่นๆ | หน่วยงานภาครัฐ หรือในกำกับของรัฐ หรือภาพเอกชนที่อยู่ในพื้นที่ Pre R&D Lab |
ภาคเอกชน | |||
1 | การวิเคราะห์ความเค้นตกค้างด้วย Portable X-ray Residual Stress Analyzer (เครื่องมือวัดความเค้นตกค้างแบบเคลื่อนที่ได้) | จุดแรก 2,500 จุดต่อไป 500/จุด |
จุดแรก 2,500 จุดต่อไป 500/จุด |
จุดแรก 3,000 จุดต่อไป 750/จุด |
จุดแรก 5,000 จุดต่อไป 1,000/จุด |
ผศ.ดร. กรุณา ตู้จินดา |
2 | การวิเคราะห์ค่าออสเตนไนท์ตกค้างด้วย Portable X-ray Residual Stress Analyzer (เครื่องมือวัดความเค้นตกค้างแบบเคลื่อนที่ได้) | จุดแรก 3,500 จุดต่อไป 500/จุด |
จุดแรก 3,500 จุดต่อไป 500/จุด . |
จุดแรก 4,000 จุดต่อไป 750/จุด |
จุดแรก 4,500 จุดต่อไป 750/จุด |
ผศ.ดร. กรุณา ตู้จินดา |
3 | การขัดผิวด้วย Electropolishing (เครื่องมือขัดผิวด้วยกระบวนการทางไฟฟ้า) | จุดแรก 500 จุดต่อไป 250/จุด |
จุดแรก 750 จุดต่อไป 350/จุด |
จุดแรก 600 จุดต่อไป 350/จุด |
จุดแรก 1,000 จุดต่อไป 500/จุด |
ผศ.ดร. กรุณา ตุ้จินดา |
4 | การวิเคราะห์ด้วยเครื่อง Stereoscopic Zoom Microscope and NIS-Element Software (กล้องจุลทรรศน์ตรวจสอบผิวชิ้นงานแบบสามมิติและสามารถวัดระยะได้) | 500 บาท/ชม. | 750 บาท/ชม. | 1,000 บาท/ชม. | 1,500 บาท/ชม. | ผศ.ดร. กรุณา ตู้จินดา |
5 | การวิเคราะห์ด้วย Tecnomatix Plant Simulation Software (โปรแกรมจำลองการจัดการการออกแบบผลิตภัณฑ์และการจัดการข้อมูลการวางแผนการผลิต) | 500 บาท/ชม. | 700 บาท/ชม. | 800 บาท/ชม. | 1,000 บาท/ชม. | ผศ.ดร. กรุณา ตู้จินดา |
6 | การทดลองวัดเบรกยานยนต์ / เสถียรภาพยานยนต์ | 2,750 บาท/ครั้ง | 5,500 บาท/ครั้ง | 8,750 บาท/ครั้ง | 10,950 บาท/ครั้ง | รศ.ดร. สายประสิทธิ์ เกิดนิยม |
7 | การทดสอบควบคุมทิศทางยานยนต์ด้วยหุ่นยนต์ | 8,250 บาท/ครั้ง | 16,450 บาท/ครั้ง | 26,300 บาท/ครั้ง | 32,850 บาท/ครั้ง | รศ.ดร. สายประสิทธิ์ เกิดนิยม |
8 | การวิเคราะห์การเบรกยานยนต์ด้วยหุ่นยนต์ | 6,150 บาท/ครั้ง | 12,350 บาท/ครั้ง | 19,750 บาท/ครั้ง | 24,750 บาท/ครั้ง | รศ.ดร. สายประสิทธิ์ เกิดนิยม |
9 | การวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองคอมพิวเตอร์ของสาขาวิศวกรรมวัสดุและการผลิต | 2,500 บาท/วัน | 3,500 บาท/วัน | 4,500 บาท/วัน | 5,500 บาท/วัน | ผศ.ดร. พฤทธิ์ โกวิทวรางกูร รศ.ดร. ศรีสวัสดิ์ ทรัพย์สมบูรณ์ รศ.ดร. ยิ่งยศ เอื้ออุฬาร |
10 | การทดสอบแรงกระแทก | 50 บาท/ตัวอย่าง | 70 บาท/ตัวอย่าง | 75 บาท/ตัวอย่าง | 100 บาท/ตัวอย่าง | ผศ.ดร. รังสิมา หญีตสอน |
11 | ทดสอบความแข็ง | 50 บาท/ตัวอย่าง | 70 บาท/ตัวอย่าง | 75 บาท/ตัวอย่าง | 100 บาท/ตัวอย่าง | ผศ.ดร. รังสิมา หญีตสอน |
12 | การทดสอบแรงดึงและแรงดัดงอ | 50 บาท/ตัวอย่าง | 70 บาท/ตัวอย่าง | 75 บาท/ตัวอย่าง | 100 บาท/ตัวอย่าง | ผศ.ดร. รังสิมา หญีตสอน |
13 | การทดสอบการไหลของพอลิเมอร์ | 600 บาท/ชม. | 840 บาท/ชม. | 900 บาท/ชม. | 1,200 บาท/ชม. | ผศ.ดร. รังสิมา หญีตสอน |
14 | การเตรียมพอลิเมอร์คอมพอสิตด้วยเครื่องหลอมอัดรีดแบบสกรูคู่ | 600 บาท/ชม. | 840 บาท/ชม. | 900 บาท/ชม. | 1,200 บาท/ชม. | ผศ.ดร. รังสิมา หญีตสอน |
15 | การเตรียมพอลิเมอร์คอมพอสิตด้วยเครื่องผสมแบบปิด | 600 บาท/ชม. | 840 บาท/ชม. | 900 บาท/ชม. | 1,200 บาท/ชม. | ผศ.ดร. รังสิมา หญีตสอน |
16 | การเตรียมชิ้นงานทดสอบด้วยเครื่องอัดร้อน | 500 บาท/ชม. | 700 บาท/ชม. | 800 บาท/ชม. | 1,200 บาท/ชม. | ผศ.ดร. รังสิมา หญีตสอน |
17 | ชุดทดสอบเครื่องมือและทดสอบต้นแบบแบตเตอรี่ | 700 บาท/ชม. | 980 บาท/ชม. | 1,050 บาท/ชม. | 1,400 บาท/ชม. | ผศ.ดร. กัมปนาท ศิริเวทิน |
18 | การทดสอบงานออโต้กริด | 600 บาท/ชม. | 840 บาท/ชม. | 900 บาท/ชม. | 1,200 บาท/ชม. | ผศ.ดร. กัมปนาท ศิริเวทิน |
19 | การเตรียมชิ้นงานออโต้กริด | 100 บาท/25×25 cm | 140 บาท/25×25 cm | 150 บาท/25×25 cm | 200 บาท/25×25 cm | ผศ.ดร. กัมปนาท ศิริเวทิน |
20 | เครื่องทดสอบวัดพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับแบบ 3 เฟส | 3,500 บาท/ชม. | 4,000 บาท/ชม. | 4,500 บาท/ชม. | 5,000 บาท/ชม. | รศ.ดร. ชัยยศ พิรักษ์ |
21 | การเตรียมตัวอย่างด้วยเครื่องกลั่นระเหยสารแบบหมุน | 250 บาท/ชม. | 350 บาท/ชม. | 400 บาท/ชม. | 500 บาท/ชม. | ผศ.ดร. รังสิมา หญีตสอน |
22 | การทดสอบเชิงตัวเลขด้วยระบบประมวลผลขนาดใหญ่ | 2,000 บาท/ชม. | 2,800 บาท/ชม. | 3,200 บาท/ชม. | 4,000 บาท/ชม. | ผศ.ดร. กรุณา ตู้จินดา |
23 | Gas Chromatograph-Mass Spectrometer/Mass Spectrometer – GC-MS | 1,200 บาท/ชม. | 1,500 บาท/ชม. | 2,000 บาท/ชม. | 3,000 บาท/ชม. | รศ.ดร. มาลินี ศรีอริยนันท์ |
24 | High Performance Liquid Chromatograph – HPLC | 400 บาท/ชม. | 450 บาท/ชม. | 500 บาท/ชม. | 650 บาท/ชม. | รศ.ดร. มาลินี ศรีอริยนันท์ |
25 | 5L – Fermenter | 1,000 บาท/วัน | 450 บาท/วัน | 500 บาท/วัน | 650 บาท/วัน | รศ.ดร. มาลินี ศรีอริยนันท์ |
26 | Nanodrop | 100 บาท/ชม. | 200 บาท/ชม. | 250 บาท/ชม. | 300 บาท/ชม. | รศ.ดร. มาลินี ศรีอริยนันท์ |
27 | Akta FPLC protein purification system | 400 บาท/ชม. | 450 บาท/ชม. | 500 บาท/ชม. | 650 บาท/ชม. | รศ.ดร. มาลินี ศรีอริยนันท์ |
ห้องปฏิบัติการ และอัตราการให้บริการห้องปฏิบัติการ
ประเภทและอัตราการให้บริการห้องปฏิบัติการ (ตามสาขาเทคโนโลยี)
ลำดับ | รายการห้องปฏิบัติการ | ราคา (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|
หน่วยงาน/ส่วนงาน/ บุคลากร/นักศึกษา ของมหาวิทยาลัย |
สถาบันการศึกษาอื่น | หน่วยงานภาครัฐ หรือในกำกับของรัฐ | ภาคเอกชน | ||
1 | ห้องปฏิบัติการสาขาวิศวกรรมเครื่องกลและการออกแบบ | 10,000 บาท/วัน | 14,000 บาท/วัน | 16,000 บาท/วัน | 20,000 บาท/วัน |
2 | ห้องปฏิบัติการสาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม | 2,500 บาท/วัน | 3,500 บาท/วัน | 4,000 บาท/วัน | 5,000 บาท/วัน |
3 | ห้องปฏิบัติการสาขาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลังและพลังงาน | 8,000 บาท/วัน | 11,200 บาท/วัน | 12,800 บาท/วัน | 16,000 บาท/วัน |
4 | ห้องปฏิบัติการสาขาวิศวกรรมวัสดุและการผลิต | 17,000 บาท/วัน | 23,800 บาท/วัน | 27,200 บาท/วัน | 34,000 บาท/วัน |
5 | ห้องปฏิบัติการสาขาวิศวกรรมระบบซอฟต์แวร์ | 2,750 บาท/วัน | 3,850 บาท/วัน | 4,400 บาท/วัน | 5,500 บาท/วัน |
6 | ห้องปฏิบัติการสาขาวิศวกรรมเคมีและกระบวนการ | 7,000 บาท/วัน | 9,800 บาท/วัน | 11,200 บาท/วัน | 14,000 บาท/วัน |
7 | ห้องปฏิบัติการเรียนรู้เพื่อพัฒนานวัตกรรม | 8.00-16.00 น. ไม่เสียค่าใช้จ่าย |
8.00-16.00 น. 50 บาท/วัน/คน |
8.00-16.00 น. 150 บาท/วัน/คน |
8.00-16.00 น. 200 บาท/วัน/คน |
นอกเวลา เหมาจ่าย 200 บาท/คน (อย่างน้อย 3 คน) ปิดบริการ 20.00 น. |
|||||
8 | ห้องปฏิบัติการทดสอบยานยนต์ขนาดใหญ่ | 7,800 บาท/วัน | 15,600 บาท/วัน | 25,000 บาท/วัน | 31,250 บาท/วัน |
9 | ห้องปฏิบัติการสาขาวิศวกรรมการประเมินและความปลอดภัยยานยนต์ | 9,850 บาท/วัน | 19,750 บาท/วัน | 31,600 บาท/วัน | 39,500 บาท/วัน |
รายละเอียดการบริการห้องปฏิบัติการ (ตามความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง) |
|||
1. ห้องปฏิบัติการด้านกลศาสตร์ของแข็ง (Solid Mechanics Lab) | |||
1.1 | ห้องปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีพื้นผิวและกลศาสตร์การสัมผัส (Contact Mechanics and Surface Engineering Lab) | ||
1.2 | ห้องปฏิบัติการด้านกระบวนการทางวัสดุ (Material Processing and Characterization Lab) | ||
สาขาวิชา | MESD, MAE | ||
ตำแหน่งที่ตั้ง | ห้อง 706 ตึก TGGS | ||
ผู้รับผิดชอบ | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กรุณา ตู้จินดา | ||
เครื่องมือ | Solid Mechanics Lab | ||
ห้องปฏิบัติการด้านกลศาสตร์ของแข็ง ให้บริการทดสอบและวิเคราะห์วัสดุภายใต้ศูนย์วิจัยวัสดุวิศวกรรม กระบวนการผลิต และวิศวกรรมพื้นผิว โดยให้บริการครอบคลุมในด้านการทดสอบและวิเคราะห์คุณสมบัติทางกล การวิเคราะห์โครงสร้างวัสดุ และการปรับปรุงคุณสมบัติของวัสดุ |
2. สนามทดสอบการเคลื่อนที่ยานยนต์ (Automotive Test Track) | |||
เป็นส่วนหนึ่งของห้องปฏิบัติการทดสอบยานยนต์ขนาดใหญ่และห้องปฏิบัติการด้านสถานที่ปฏิบัติการและอุปกรณ์ควบคุมด้านยานยนต์ | |||
สาขาวิชา | ASAE, MAE | ||
ตำแหน่งที่ตั้ง | Automotive Testing Facility KMUTNB วิทยาเขตปราจีนบุรี | ||
ผู้รับผิดชอบ | รองศาสตราจารย์ ดร. สายประสิทธิ์ เกิดนิยม | ||
เครื่องมือ | – Vehicle Speed meter and accelerometer – Vehicle Autonomous steering control system |
||
สนามทดสอบการเคลื่อนที่ยานยนต์ ทำการทดสอบเกี่ยวกับ ความเร่ง (Accelerometer) ความเร็ว (Speed meter) และระบบขับขี่อัตโนมัติ (Autonomous steering control system) ของรถยนต์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสมถรรนะการขับขี่และประสิทธิภาพการทำงานของยานยนต์สมัยใหม่โดยรวมไปถึงการทำงานของระบบเบรกที่ทำให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ใช้รถใช้ถนน อีกทั้งยังมีการประเมินการระบบตรวจสอบจุดบอดของกระจกมองข้างรถยนต์ (Blind spot detection) อีกด้วย |
3. ห้องปฏิบัติการทดสอบการกระแทกของชิ้นส่วนยานยนต์ (Automotive Component Impact Test Laboratory) | |||
เป็นส่วนหนึ่งของห้องปฏิบัติการสาขาวิศวกรรมการประเมินและความปลอดภัยยานยนต์ ห้องปฏิบัติการด้านการควบคุมสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านยานยนต์และห้องปฏิบัติการด้านการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องทดสอบยานยนต์ | |||
สาขาวิชา | ASAE, MAE | ||
ตำแหน่งที่ตั้ง | Automotive Testing Facility KMUTNB วิทยาเขตปราจีนบุรี | ||
ผู้รับผิดชอบ | รองศาสตราจารย์ ดร. สายประสิทธิ์ เกิดนิยม | ||
เครื่องมือ | – Small concrete barrier (4 ton weight) with load cell – Wireless G-sensor |
||
ห้องปฏิบัติการทดสอบการกระแทกของชิ้นส่วนยานยนต์ (Automotive Component Impact Test Laboratory) ใช้สำหรับประเมินคุณภาพของชิ้นส่วนยานยนต์สมัยใหม่ที่อยู่ภายในห้องโดยสาร มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 600 ตารางเมตร ทำความเร็วได้สูงถึง 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถควบคุมความเร็วที่ใช้ทดสอบพร้อมทั้งพุ่งเข้าปะทะกับแท่นรับแรงกระแทกได้อย่างแม่นยำ ห้องปภิบัติการ ฯ ถูกออกแบบให้พัฒนาต่อยอดและตอบโจทย์กลุ่มยานยนต์สมัยใหม่ (First S-Curve) มีความพร้อมในการยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพสำหรับใช้ภายในประเทศ |
4. อาคารปฏิบัติการทดสอบการชนยานยนต์แบบทั้งคัน (Full Vehicle Crash Test Laboratory) | |||
เป็นส่วนหนึ่งของห้องปฏิบัติการสาขาวิศวกรรมการประเมินและความปลอดภัยยานยนต์ ห้องปฏิบัติการด้านการควบคุมสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านยานยนต์และห้องปฏิบัติการด้านการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องทดสอบยานยนต์ | |||
สาขาวิชา | ASAE, MAE | ||
ตำแหน่งที่ตั้ง | Automotive Testing Facility KMUTNB วิทยาเขตปราจีนบุรี | ||
ผู้รับผิดชอบ | รองศาสตราจารย์ ดร. สายประสิทธิ์ เกิดนิยม | ||
เครื่องมือ | Full Vehicle Crash Test Laboratory | ||
อาคารปฏิบัติการทดสอบการชนยานยนต์แบบทั้งคัน (Full Vehicle Crash Test Laboratory) ถูกออกแบบให้มีความพร้อมทั้งทางด้านเครื่องมือ อุปกรณ์วัดค่าทางวิศวกรรม หุ่นทดสอบการชนตามมาตรฐานสากล (Hybrid III 50th Dummy) และสามารถรองรับรูปแบบการชนได้ทั้ง การชนแบบหน้าเต็ม (Full frontal) การชนแบบเยื้องศูนย์ (Offset impact) การชนแบบด้านข้าง (Side impact) พร้อมด้วยการประเมินความคุณภาพจุดยึดที่นั่งของระบบรางและราวกันตก (Guard rail) ที่ผลิตจากยางพาราในประเทศ นอกเหนือจากนี้ยังมีเครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดความเร่งที่เกิดขึ้นที่เสาโครงสร้างของรถยนต์ ( Two b-pillar accelerometers) และแรงตึงของเข็มขัดนิรภัยที่เกิดขึ้นจากการชน (Belt tension sensor) |
5. พื้นที่ทดสอบสมรรถนะของระบบเบรคของยานยนต์ (Automotive Brake Performance Test Area) | |||
เป็นส่วนหนึ่งของห้องปฏิบัติการทดสอบยานยนต์ขนาดใหญ่และห้องปฏิบัติการด้านสถานที่ปฏิบัติการและอุปกรณ์ควบคุมด้านยานยนต์ | |||
สาขาวิชา | ASAE, MAE | ||
ตำแหน่งที่ตั้ง | Automotive Testing Facility KMUTNB วิทยาเขตปราจีนบุรี | ||
ผู้รับผิดชอบ | รองศาสตราจารย์ ดร. สายประสิทธิ์ เกิดนิยม | ||
เครื่องมือ | – High friction surface – Low friction surface – Spray water equipment |
||
พื้นที่ทดสอบสมรรถนะของระบบเบรคของยานยนต์ (Automotive Brake Performance Test Area) เป็นพื้นที่ที่ถูกอออกแบบโดยการจำลองสภาวะพื้นที่เปียกและแห้งที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ซึ่งมีทั้งพื้นผิวที่มีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานต่ำและแรงเสียดทานสูง ทั้งนี้เพื่อประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพด้านการห้ามล้อของยานยนต์ประเภทรถยนต์ รถสามล้อ รถจักรยานยนต์ ตามมาตฐานสากลให้อยู่ในระยะที่ปลอดภัยรวมทั้งระบบการทำงานของระบบป้องกันล้อล็อค (Anti-lock brake system, ABS) อีกทั้งยังเป็นการยกระดับประสิทธิภาพความปลอดภัยเชิงป้องกัน และประสิทธิภาพการเบรกอัตโนมัติของยานยนต์สมัยใหม่ (Autonomous emergency braking system, AEB) |
6. ห้องปฏิบัติการผลิตและขึ้นรูปพอลิเมอร์ (Polymer Processing Laboratory) และห้องปฏิบัติการทดสอบวัสดุ (Materials Testing Laboratory) |
|||
สาขาวิชา | MPE | ||
ตำแหน่งที่ตั้ง | ห้องปฏิบัติการผลิตและขึ้นรูปพอลิเมอร์: ชั้น 4 ตึก TGGS ห้องปฏิบัติการทดสอบวัสดุ : ชั้น 3 ตึก TGGS |
||
ผู้รับผิดชอบ | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รังสิมา หญีตสอน | ||
เครื่องมือ | – ห้องปฏิบัติการผลิตและขึ้นรูปพอลิเมอร์ – ห้องปฏิบัติการทดสอบวัสดุ |
||
เหมาะสำหรับกับการวิจัยและพัฒนาออกสูตรส่วนผสมวัสดุพอลิเมอร์ชนิดใหม่ๆ อีกทั้งยังให้บริการตรวจสอบและทดสอบเม็ดพลาสติก (เรซิ่น) หรือผลิตภัณฑ์พลาสติกในท้องตลาด เช่น การทดสอบสมบัติทางกล (ความทนแรงดึง ความทนแรงดัดโค้ง และความทนแรงกระแทก) สมบัติทางความร้อน (อุณหภูมิคล้ายแก้ว อุณหภูมิหลอมเหลว และอุณหภูมิก่อเกิดผลึก) และสมบัติทางเคมีของวัสดุ เป็นต้น |
7. ห้องปฏิบัติการทางโครงสร้างโลหะวิทยา (Microstructure Laboratory) |
|||
สาขาวิชา | MPE | ||
ตำแหน่งที่ตั้ง | ห้อง 608 ตึก TGGS | ||
ผู้รับผิดชอบ | รองศาสตราจารย์ ดร. ยิ่งยศ เอื้ออุฬาร | ||
เครื่องมือ | Microstructure Laboratory | ||
ห้องปฏิบัติการสำหรับตรวจสอบคุณลักษณะทางกายภาพของวัสดุ เช่น โครงสร้างมหภาค (Macrostructure) โครงสร้างจุลภาค (Microstructure) และทดสอบค่าความแข็งของวัสดุของวัสดุโลหะ โดยห้องปฏิบัติการนี้จะมี อุปกรณ์กล้อง Optical microscope คุณภาพสูงสำหรับตรวจสอบและถ่ายภาพที่สามารถตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของวัสดุทั้งในระดับมหาภาคและระดับจุลภาค นอกจานี้ยังมีอุปกรณ์สำหรับวัดค่าความแข็งของวัสดุ แบบ Micro Vickers ที่เหมาะกับการวัดค่าความแข็งของวัสดุเกือบทุกชนิดอีกด้วย |
8. ห้องปฏิบัติการเตรียมตัวอย่างทางโลหะวิทยา (Materials Preparation Laboratory) |
|||
สาขาวิชา | MPE | ||
ตำแหน่งที่ตั้ง | ห้อง 608 ตึก TGGS | ||
ผู้รับผิดชอบ | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พฤทธิ์ โกวิทย์วรางกูร | ||
เครื่องมือ | – Cut-off machine – Manual Grinder/Polisher – Laboratory fume hood exhaust |
||
ห้องปฏิบัติการเตรียมชิ้นงานสำหรับตรวจสอบคุณลักษณะทางกายภาพของวัสดุ เช่น โครงสร้างมหภาค (Macrostructure) โครงสร้างจุลภาค (Microstructure) และทดสอบค่าความแข็งของวัสดุ เป็นต้น โดยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ห้องปฏิบัติการนี้มี ได้แก่ เครื่องสำหรับเตรียมชิ้นงาน ได้แก่ เครื่องตัดโลหะ, เครื่องขัดผิวชิ้นงาน, อุปกรณ์ขึ้นตัวเรือน (Cold mounting), อุปกรณ์สำหรับกัดกรดเพื่อตรวจสอบโครงสร้างจุลภาค ฯลฯ |
9. ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์และทดสอบแบตเตอรี่ (Batterie Test Laboratory) |
|||
สาขาวิชา | MPE | ||
ตำแหน่งที่ตั้ง | ห้อง 608 ตึก TGGS | ||
ผู้รับผิดชอบ | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กัมปนาท ศิริเวทิน | ||
เครื่องมือ | – Battery analyzer – AutoGrid Software |
||
ห้องปฏิบัติการสำหรับงานวิจัยการสร้างเซลล์แบตเตอรี่ขนาดเล็กไปจนถึงวิเคราะห์ทดสอบความทนทานทของเซลล์และแบตเตอรี่สำเร็จรูป นอกจากนั้นห้องปฏิบัติการยังมีเครื่อง AutoGrid และ Software สำหรับวิเคราะห์ความสามารถในการขึ้นรูปของโลหะแผ่นในอุตสาหกรรม โดยวิเคราะห์จากการตีกริชที่ชิ้นงานจริงก่อนขึ้นรูป เมื่อขึ้นรูปชิ้นงานแล้วจะทำให้กริชขยายตัวออกทำให้สามารถวิเคราะห์ค่าตัวแปรต่างๆที่เปลี่ยนไปได้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น คุณสมบัติการขึ้นรูป stress, strain ที่เกิดขึ้นกับชิ้นงานรวมไปถึงสามารถวิเคราะห์ FLC curve ได้ |
10. ห้องปฏิบัติการแปลงกำลังงานไฟฟ้า (Electrical Power Conversion Laboratory) |
|||
สาขาวิชา | EPE, ESSE | ||
ตำแหน่งที่ตั้ง | ห้อง 407 ตึก TGGS | ||
ผู้รับผิดชอบ | ศาสตราจารย์ ดร. นิสัย เฟื่องเวโรจน์สกุล | ||
เครื่องมือ | Electrical Power Conversion Laboratory | ||
11. ห้องปฏิบัติการ High Voltage and Partial Discharge Test Laboratory |
|||
สาขาวิชา | EPE, ESSE | ||
ตำแหน่งที่ตั้ง | แล็บ HV ตึก TGGS | ||
ผู้รับผิดชอบ | รองศาสตราจารย์ ดร. ธนพงศ์ สุวรรณศรี | ||
เครื่องมือ | High Voltage and Partial Discharge Test Laboratory | ||
12. ห้องปฏิบัติการคลื่นความถี่วิทยุและไมโครเวฟ |
|||
สาขาวิชา | CSE, ESSE | ||
ตำแหน่งที่ตั้ง | ชั้น 4 ตึก TGGS | ||
ผู้รับผิดชอบ | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรเมธ เฉลิมวิสุตม์กุล | ||
เครื่องมือ | High Frequency and Microwave Lab | ||
13. บัติการวิเคราะห์โครงข่ายไฟฟ้าและระบบควบคุมอัตโนมัติ (Power Grid Analytics and Automation Laboratory) |
|||
สาขาวิชา | EPE, ESSE | ||
ตำแหน่งที่ตั้ง | ชั้น 4 ห้อง 407 ตึก TGGS | ||
ผู้รับผิดชอบ | รองศาสตราจารย์ ดร. วิจารณ์ หวังดี | ||
เครื่องมือ | |||
14. ห้องปฏิบัติการ VR Laboratory |
|||
เป็นส่วนหนึ่งของห้องปฏิบัติการวิจัยระบบซอฟต์แวร์ | |||
สาขาวิชา | SSE, ESSE | ||
ตำแหน่งที่ตั้ง | ชั้น 8 ห้อง 806 ตึก TGGS | ||
ผู้รับผิดชอบ | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชยากร เนตรมัย ดร. สรรค์ศิริ ธนชุติวัต |
||
เครื่องมือ | |||
15. ห้องปฏิบัติการกระบวนการทางชีวภาพ (Biochemical Process Laboratory) |
|||
สาขาวิชา | CPE | ||
ตำแหน่งที่ตั้ง | ห้อง 1012 ชั้น 10 อาคาร TGGS | ||
ผู้รับผิดชอบ | รองศาสตราจารย์ ดร. มาลินี ศรีอริยนันท์ | ||
เครื่องมือ | – ฺBrookfield Viscometer – SL CSTR Fermentor – PCR Machine – Real Time PCR Machine – Gel Electrophoresis |
||
ห้องปฏิบัติการกระบวนการทางชีวภาพมุ่งเน้นงานวิจัยเชิงประยุกต์เพื่อพัฒนาการใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพและกระบวนการเคมีในการสกัดน้ำตาลเพื่อผลิตเอทานอลจากชีวมวลซึ่งเป็นขยะเหลือทิ้งจากการเกษตรกรรม และเพื่อผลิตสารชีวภัณฑ์หรือสารที่มีมูลค่าสูง และนอกจากนี้ห้องปฏิบัติการยังมุ่งเน้นส่งเสริมการวิจัยทางชีวภาพเชิงพาณิชย์โดยศึกษาการแยกโครงสร้างชีวมวลและการสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรมและการวิจัยต่อไป |
16. กลุ่มนวัตกรรมด้านสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ (Architecture Research Group) |
|||
สาขาวิชา | ESSE | ||
ตำแหน่งที่ตั้ง | ห้อง 807 ชั้น 8 อาคาร TGGS | ||
ผู้รับผิดชอบ | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัชตะ อัศวรุ่งนิรันดร์ | ||
เครื่องมือ | Architecture Research Group | ||
กลุ่มนวัตกรรมด้านสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ดำเนินงานวิจัย เพื่อวิเคราะห์ ออกแบบ และสร้างสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ และ/หรือ ระบบคอมพิวเตอร์ประเภทต่าง ๆ อาทิเช่น การออกแบบหน่วยประมวลผลแบบกราฟฟิกประเภทใหม่ที่มีสามารถสูงขึ้นในการประมวลผลสำหรับงานประเภท AI หรือ machine learning การออกแบบหน่วยประมวลผลและระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่ม power-efficiency และ reliability สำหรับ embedded devices และ mobile devices ในงานด้าน IoT หรือการออกแบบระบบการทำ container ประสิทธิภาพและความเร็วสูงเพื่อใช้ในการประมวลผลแบบ cloud computing เป็นต้น |
17. ห้องปฏิบัติการจำลองการขึ้นรูปโลหะ (Simulation Lab for Metal Forming) |
|||
เป็นส่วนหนึ่งของห้องปฏิบัติการวิจัยระบบซอฟต์แวร์ | |||
สาขาวิชา | MPE | ||
ตำแหน่งที่ตั้ง | ห้อง 607 ชั้น 6 อาคาร TGGS | ||
ผู้รับผิดชอบ | รองศาสตราจารย์ ดร. ยิ่งยศ เอื้ออุฬาร | ||
เครื่องมือ | – WorkStation (x5) – Deform 2D/3D software for die and process designs in metal forming process |
||
ห้องปฏิบัติการสำหรับจำลองการขึ้นรูปโลหะด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยใช้หลักการทาง ไฟไนต์เอลิเมนต์ เหมาะสำหรับงานทุบขึ้นรูปโลหะ Forging, Stamping และออกแบบแม่พิมพ์ขั้นสูง โดยโปรแกรมสามารถทำนายสมบัติทางกล เช่น stress, strain, displacement, ลักษณะการเสียรูปของชิ้นงานหลังจากการขึ้นรูปรวมไปถึงแรงที่ใช้ในการขึ้นรูปและ Defects ที่เกิดจากการขึ้นรูปและแนะนำวิธีการแก้ใขเพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นได้ |
18. ห้องปฏิบัติการจำลองกระบวนการทางโลหะวิทยา (Metallurgical Process Modeling Laboratory) |
|||
สาขาวิชา | MPE | ||
ตำแหน่งที่ตั้ง | ห้อง 608 ชั้น 6 อาคาร TGGS | ||
ผู้รับผิดชอบ | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พฤทธิ์ โกวิทวรางกูร | ||
เครื่องมือ | – Casting and CFD simulation software (FlowCast and Flow 3D) – Ladle and Tundish Water Model – Furnance |
||
ห้องปฏิบัติการสำหรับจำลองและวิเคราะห์การไหลของอากาศและของไหลชนิดอื่น ๆ เช่น พฤติกรรมการไหลของน้ำในแม่น้ำ พฤติกรรมการไหลของน้ำโลหะในทันดิช และการกวนน้ำ โลหะในเตาปรุง เป็นต้นโดยโปรแกรมจะต้องใช้ระเบียบปฏิบัติแบบ Finite Difference (FDM) และ/หรือ Finite Volume (FVM) ในการวิเคราะห์ปัญหาทางพลศาสตร์ของไหล และการถ่ายเท ความร้อน และใช้ระเบียบปฏิบัติแบบ Finite Element (FEM) ในการวิเคราะห์ปัญหา Thermal Stress Evaluation (TSE) และ Fluid Structure Interaction (FSI) |
19. ห้องปฏิบัติการ Plant Simulation (Plant Simulation Laboratory) |
|||
สาขาวิชา | MPE | ||
ตำแหน่งที่ตั้ง | ห้อง 608 ชั้น 6 อาคาร TGGS | ||
ผู้รับผิดชอบ | รองศาสตราจารย์ ดร. ศรีสวัสดิ์ ทรัพย์สมบูรณ์ | ||
เครื่องมือ | Technomatrix Plant Simulation Research License | ||
ห้องปฏิบัติการสำหรับจำลองและวิเคราะห์กระบวนการบริหารและจัดการทรัพยากรในส่วนของการผลิต สินค้าคงคลังและโลจิสติกส์โดยจะคำนึงถึงปัจจัยด้านจำนวนและเวลาของแรงงาน เครื่องจักร วัตถุดิบและสิ่งอื่นที่จะทำให้กระบวนการผลิตทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยจะวิเคราะห์หา Bottleneck ของกระบวนการทำงานและแสดงออกมาในรูปแบบของแผนภูมิแท่ง รวมถึงโปรแกรมสามารถแสดงแผนภาพการไหลที่แสดงถึงการทำงานจริง หรือ virtual commissioning ทั้งในรูปแบบของ 2D และ 3D |
20. ห้องปฏิบัติการวิจัยวัสดุคอมโพสิทธรรมชาติ (Natural Composite Research Laboratory) |
|||
สาขาวิชา | MPE | ||
ตำแหน่งที่ตั้ง | ห้อง 604 ชั้น 6 อาคาร TGGS | ||
ผู้รับผิดชอบ | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รังสิมา หญีตสอน | ||
เครื่องมือ | Rotary Evaporator | ||
ห้องปฏิบัติการวิจัยวัสดุคอมโพสิตธรรมชาติ เป็นห้องปฏิบัติการสำหรับเตรียมวัสดุ/ตัวอย่าง เพื่อนำไปขึ้นรูปด้วยกระบวนการทางพอลิเมอร์หรือกระบวนการอื่นต่อไป เครื่องมือและอุปกรณ์ภายในห้องปฏิบัติการประกอบด้วย เครื่องระเหยสารแบบหมุนภายใต้สุญญากาศ (Rotary Evaporator) เครื่องกวนสารละลายพร้อมให้ความร้อน (Hotplate Stirrer) เครื่องปั่นสารละลาย (Overhead Stirrer) ตู้อบลมร้อน (Hot Air Oven) เครื่องเขย่าสาร (Orbital Shakers) เครื่องทำความสะอาดด้วยคลื่นความถี่สูง (Ultrasonic Cleaner) และเครื่องชั่งดิจิตอล (Portable Balance) เป็นต้น |
21. ห้องปฏิบัติการวิศวกรรมตัวเร่งปฏิกิริยาและปฏิกิริยา (Catalysis and Reaction Engineering Laboratory) |
|||
สาขาวิชา | CPE | ||
ตำแหน่งที่ตั้ง | ห้อง 1014 ชั้น 10 อาคาร TGGS | ||
ผู้รับผิดชอบ | รองศาสตราจารย์ ดร. อุณาโลม เวทย์วัฒนะ ฮาร์ทลี่ | ||
เครื่องมือ | Catalysis and Reaction Engineering Laboratory | ||
ห้องปฎิบัติการวิศวกรรมตัวเร่งปฏิกิริยาและปฏิกิริยา เป็นห้องปฏิบัติการสำหรับพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาและกระบวนการทางเคมีที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบโจทย์ปัญหางานวิจัยขั้นพื้นฐานและขั้นสูงจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ภายในห้องปฏิบัติการมีเครื่องปฏิกรณ์และเครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูงซึ่งได้รับความร่วมมือจากภาคอุตสากรรมและมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ สำหรับทดสอบกระบวนการต่างๆ ได้แก่ การใช้ประโยชน์จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การเปลี่ยนชีวมวลเป็นพลังงานสีเขียว การผลิตก๊าซไฮโดรเจนจากปฏิกิริยาการแตกตัวของน้ำ การกำจัดไอเสียจากรถยนต์ด้วยเครื่องฟอกไอเสียเชิงเร่งปฏิกิริยา |
ประเภทและอัตราการให้บริการห้องปฏิบัติการ (ตามความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง)
ลำดับ | รายการห้องปฏิบัติการ | ราคา (บาท) | ผู้รับผิดชอบ | |||
---|---|---|---|---|---|---|
หน่วยงาน/ส่วนงาน/ บุคลากร/นักศึกษา ของมหาวิทยาลัย |
สถาบัน การศึกษาอื่น | หน่วยงานภาครัฐ หรือในกำกับของรัฐ |
ภาคเอกชน | |||
1 | ห้องปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีพื้นผิวและกลศาสตร์การสัมผัส | 3,500 บาท/ชม. | 4,900 บาท/ชม. | 5,600 บาท/ชม. | 7,000 บาท/ชม. | ผศ.ดร. กรุณา ตู้จินดา |
2 | ห้องปฏิบัติการด้านกระบวนการทางวัสดุ | 1,000 บาท/ชม. | 1,400 บาท/ชม. | 1,600 บาท/ชม. | 2,000 บาท/ชม. | ผศ.ดร. กรุณา ตู้จินดา |
3 | ห้องปฏิบัติการด้านการควบคุมสถานที่ปฏิบัติการด้านยานยนต์ | 250 บาท/วัน | 500 บาท/วัน | 800 บาท/วัน | 1,000 บาท/วัน | รศ.ดร. สายประสิทธิ์ เกิดนิยม |
4 | ห้องปฏิบัติการด้านการควบคุมสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านยานยนต์ | 125 บาท/วัน | 200 บาท/วัน | 400 บาท/วัน | 500 บาท/วัน | รศ.ดร. สายประสิทธิ์ เกิดนิยม |
5 | ห้องปฏิบัติการด้านสถานที่ปฏิบัติการและอุปกรณ์ควบคุมด้านยานยนต์ | 750 บาท/วัน | 1,500 บาท/วัน | 2,400 บาท/วัน | 3,000 บาท/วัน | รศ.ดร. สายประสิทธิ์ เกิดนิยม |
6 | ห้องปฏิบัติการด้านการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องทดสอบยานยนต์ | 357 บาท/วัน | 750 บาท/วัน | 1,200 บาท/วัน | 1,500 บาท/วัน | รศ.ดร. สายประสิทธิ์ เกิดนิยม |
7 | ห้องปฏิบัติการทดสอบวัสดุ | 150 บาท/ชม. | 210 บาท/ชม. | 240 บาท/ชม. | 300 บาท/ชม. | ผศ.ดร. รังสิมา หญีตสอน |
8 | ห้องปฏิบัติการขึ้นรูปพอลิเมอร์ | 100 บาท/ชม. | 140 บาท/ชม. | 160 บาท/ชม. | 200 บาท/ชม. | ผศ.ดร. รังสิมา หญีตสอน |
9 | ห้องปฏิบัติการทางโครงสร้างโลหะวิทยา | 100 บาท/ชม. | 140 บาท/ชม. | 160 บาท/ชม. | 200 บาท/ชม. | รศ.ดร. ยิ่งยศ เอื้ออุฬาร |
10 | ห้องปฏิบัติการเตรียมตัวอย่างทางโลหะวิทยา | 100 บาท/ชม. | 140 บาท/ชม. | 160 บาท/ชม. | 200 บาท/ชม. | ผศ.ดร. พฤทธิ์ โกวิทย์วรางกูร |
11 | ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์และทดสอบแบตเตอรี่ | 250 บาท/ชม. | 350 บาท/ชม. | 400 บาท/ชม. | 500 บาท/ชม. | ผศ.ดร. กัมปนาท ศิริเวทิน |
12 | ห้องปฏิบัติการแปลงกำลังงานไฟฟ้า | 500 บาท/ชม. | 700 บาท/ชม. | 800 บาท/ชม. | 1,000 บาท/ชม. | ศ.ดร. นิสัย เฟื่องเวโรจน์สกุล |
13 | ห้องปฏิบัติการ High Voltage and Partial Discharge Test Laboratory | 3,250 บาท/ชม. | 4,850 บาท/ชม. | 5,200 บาท/ชม. | 6,500 บาท/ชม. | รศ.ดร. ธนพงศ์ สุวรรณศรี |
14 | ห้องปฏิบัติการคลื่นความถี่วิทยุและไมโครเวฟ | 500 บาท/ชม. | 700 บาท/ชม. | 800 บาท/ชม. | 1,000 บาท/ชม. | ผศ.ดร. สุรเมธ เฉลิมวิสุตม์กุล |
15 | ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์โครงข่ายไฟฟ้าและระบบควบคุมอัตโนมัติ | 850 บาท/ชม. | 1,190 บาท/ชม. | 1,360 บาท/ชม. | 1,700 บาท/ชม. | รศ.ดร. วิจารณ์ หวังดี |
16 | ห้องปฏิบัติการVR Laboratory | 450 บาท/ชม. | 630 บาท/ชม. | 720 บาท/ชม. | 900 บาท/ชม. | ดร. สรรค์ศิริ ธนชุติวัต ดร. ชยากร เนตรมัย |
17 | ห้องปฏิบัติการกระบวนการทางชีววิทยา (Biochemical Process Laboratory) | 2,500 บาท/ชม. | 3,000 บาท/ชม. | 4,000 บาท/ชม. | 5,000 บาท/ชม. | รศ.ดร. มาลินี ศรีอริยนันท์ |
18 | ห้องปฏิบัติการ : กลุ่มนวัตกรรมด้านสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ (Architecture Research Group) | 4,000 บาท/วัน | 5,500 บาท/วัน | 6,500 บาท/วัน | 8,000 บาท/วัน | ผศ.ดร. รัชตะ อัศวรุ่งนิรันดร์ |
19 | ห้องปฏิบัติการจำลองการขึ้นรูปโลหะ (Simulation Lab for Metal Forming) | 2,500 บาท/วัน | 3,500 บาท/วัน | 4,500 บาท/วัน | 5,500 บาท/วัน | รศ.ดร. ยิ่งยศ เอื้ออุฬาร |
20 | ห้องปฏิบัติการจำลองกระบวนการทางโลหะวิทยา (Metallurgical Process Modeling Laboratory) | 1,000 บาท/วัน | 1,400 บาท/วัน | 1,800 บาท/วัน | 2,200 บาท/วัน | ผศ.ดร. พฤทธิ์ โกวิทวรางกูร |
21 | ห้องปฏิบัติการ Plant Simulation (Plant Simulation Laboratory) | 500 บาท/ชม. | 700 บาท/ชม. | 800 บาท/ชม. | 1,000 บาท/ชม. | รศ.ดร. ศรีสวัสดิ์ ทรัพย์สมบูรณ์ |
22 | ห้องปฏิบัติการวิจัยวัสดุคอมโพสิตธรรมชาติ (Natural Composite Research Laboratory) | 100 บาท/ชม. | 140 บาท/ชม. | 160 บาท/ชม. | 200 บาท/ชม. | ผศ.ดร. รังสิมา หญีตสอน |
23 | ห้องปฏิบัติการวิศวกรรมตัวเร่งปฏิกิริยาและปฏิกิริยา (Catalysis and Reaction Engineering Laboratory) | 650 บาท/ชม. | 800 บาท/ชม. | 950 บาท/ชม. | 1,500 บาท/ชม. | รศ.ดร. อุณาโลม เวทย์วัฒนะ ฮาร์ทลี่ |
การเข้าใช้บริการ สามารถดาวน์ดหลดแบบฟอร์มขอรับบริการได้ที่ [Click Here]
ห้องปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาสำหรับอุตสาหกรรมเฉพาะองค์กร (Pre-R&D Laboratory, Pre-Lab) และพื้นที่ทำงานร่วมกัน (Co R&D Space)
TGGS จัดให้มีพื้นที่เพื่อบ่มเพาะความพร้อมเพื่องานวิจัยและพัฒนา (R&D) แก่ภาคอุตสาหกรรมและสังคม สำหรับบุคคลต้องการริเริ่มธุรกิจด้านวิจัยและพัฒนาหรือด้านที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรือองค์กรที่ต้องการเริ่มแผนก R&D ในสภาพแวดล้อมแบบมหาวิทยาลัย มีทั้งการให้บริการเช่าพื้นที่ห้องปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาสำหรับอุตสาหกรรมเฉพาะองค์กร (Pre-R&D Laboratory, Pre-Lab) และการบริการพื้นที่ทำงานร่วมกันหรือห้องประชุม (Co R&D Space) ที่ชั้น 9 ของอาคาร TGGS ซึ่งมี ผศ.ดร. กรุณา ตู้จินดา รับหน้าที่เป็นหัวหน้าโครงการ อยู่ภายใต้โครงการศูนย์ส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งให้ภาคเอกชนในประเทศไทย (Company R&D Center, CRDC) ที่ริเริ่มตั้งแต่ปี 2560 โดยร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) หรือปัจจุบันได้ปรับโครงสร้างและเปลี่ยนเป็นสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับภาคเอกชนในการพัฒนาแผนก R&D โดยจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ในพื้นที่มหาวิทยาลัย
Pre-R&D Space
คำแถลงการณ์และคำอธิบาย
https://tggs.kmutnb.ac.th/testing-and-labs/pre-rd-lab-centre
Co-R&D Space
หากสนใจใช้บริการ Pre-Lab และ Co R&D Space สามารถติดต่อได้ที่ CRDC บริเวณ ชั้น 9 ตึก TGGS หรือ อีเมล์ crdc.solution@gmail.com
หากสนใจใช้บริการ Pre-Lab และ Co R&D Space สามารถติดต่อได้ที่ CRDC บริเวณชั้น 9 ตึก TGGS หรืออีเมล์ crdc.solution@gmail.com และสามารถ ดาวน์โหลดแบบฟอร์มขอใช้บริการ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:
งานวิจัยและบริการวิชาการ TGGS
ชั้น 3 ห้อง 309 อาคาร TGGS
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
เลขที่ 1518 ถนนประชาราษฎร์ สาย 1 แขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800
โทรศัพท์ 0 2555 2000 ต่อ 2907, 2938
อีเมล์ research@tggs.kmutnb.ac.th