พิธีมอบทุนโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนรายละเอียดของโครงการ

ขอแสดงความยินดีกับทั้ง 12 ทีม

  1. การประมาณโครงสร้างด้วยทอพอโลยี
  2. Smart Sigh Glove” Innovative Glove for Real-time Sign Language Translation
  3. Safety issues of the seatbelt extender devices, according to TIS and UN Regulation
  4. Sustainable Living Solutions Advancing EV Infrastructure, Local Product Accessibility, and Digital Connectivity
  5. รถไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยระบบอัตโนมัติสำหรับขนส่งของในโรงพยาบาล
  6. การพัฒนาระบบจัดการความร้อนแบเตอรี่บนพื้นฐานของระบบอัดไอแบบเครื่องระเหยคู่โดยใช้อีเจคเตอร์เป็นอุปกรณ์ลดความดันเพื่อการประหยัดพลังงานและความปลอดภัยในยานยนต์ไฟฟ้า
  7. การเคลือบพื้นผิวชิ้นงานเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชด้วยพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพสำหรับอุปกรณ์บนโต๊ะอาหการแบบใช้แล้วทิ้ง
  8. การสร้างสัญญาณ PWM เพื่อควบคุมอินเวอร์เตอร์ 3 เฟส 3 ระดับ
  9. ออกแบบวงจรกรองสัญญาณรบกวน EMI สำหรับ PFC คอนเวอร์เตอร์
  10. โมบายแอปพลิเคชันสำหรับประเมินโอกาสในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจภายใน 10 ปี
  11. Materials Design and Modeling of 3D-Printed PLA Matrix Composite Reinforced by iron Particles for Biomedical application
  12. วัสดุโลหะโครงข่ายอินทรีย์สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพขั้วอากาศของแบตเตอรี่สังกะสี – อากาศ

โครงการที่ได้รับทุนสนับสนุน

  1. การประมาณโครงสร้างด้วยทอพอโลยี
  2. Smart Sigh Glove” Innovative Glove for Real-time Sign Language Translation
  3. Safety issues of the seatbelt extender devices, according to TIS and UN Regulation
  4. Sustainable Living Solutions Advancing EV Infrastructure, Local Product Accessibility, and Digital Connectivity
  5. รถไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยระบบอัตโนมัติสำหรับขนส่งของในโรงพยาบาล
  6. การพัฒนาระบบจัดการความร้อนแบเตอรี่บนพื้นฐานของระบบอัดไอแบบเครื่องระเหยคู่โดยใช้อีเจคเตอร์เป็นอุปกรณ์ลดความดันเพื่อการประหยัดพลังงานและความปลอดภัยในยานยนต์ไฟฟ้า
  7. การเคลือบพื้นผิวชิ้นงานเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชด้วยพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพสำหรับอุปกรณ์บนโต๊ะอาหการแบบใช้แล้วทิ้ง
  8. การสร้างสัญญาณ PWM เพื่อควบคุมอินเวอร์เตอร์ 3 เฟส 3 ระดับ
  9. ออกแบบวงจรกรองสัญญาณรบกวน EMI สำหรับ PFC คอนเวอร์เตอร์
  10. โมบายแอปพลิเคชันสำหรับประเมินโอกาสในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจภายใน 10 ปี
  11. Materials Design and Modeling of 3D-Printed PLA Matrix Composite Reinforced by iron Particles for Biomedical application
  12. วัสดุโลหะโครงข่ายอินทรีย์สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพขั้วอากาศของแบตเตอรี่สังกะสี – อากาศ

โครงการสำรอง (Waiting Lists) กรณีมีทุนสนับสนุนเพิ่มเติม (เรียงตามลำดับ)

  1. Monitoring Electric Vehicle Status on Mobile Application
  2. ระบบแนะแนวการศึกษาด้วยจักรกลสนทนาอัจฉริยะเพื่อเสริมสร้างการรับรู้และการประชาสัมพันธ์ (The Education Recommendation System with AI Chatbot to Enhance Awaerness and Publice Relations)
  3. IOT Gateway Platform
  4. การทำนายสัมบัติน้ำมันไบโอดีเซลที่ได้จากกระบวนการทรานส์เอสเทอริฟิเคชันของน้ำมันพืชชนิดต่าง ๆ  ด้วยปัญญาประดิษฐ์
  5. การออกแบบและประยุกต์ใช้โครงข่าย 5G สำหรับระบบ IoT

วัตถุประสงค์ของโครงการ

มหาวิทยาลัยเทคโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือมีหน่วยงานระดับคณะที่ดำเนินการเรียนการสอนและวิจัยในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจำนวนมาก ซึ่งมีศักยภาพและความเข้มแข็งที่แตกต่างกัน เพื่อกระตุ้นให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรในการร่วมมือระหว่างคณาจารย์ในคณะต่างๆ อันจะทำให้เกิดการสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่กว้างขวางในมจพ. และทำให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมใช้งานทรัพยากรบุคคล เครื่องมือ อุปกรณ์ ห้องปฎิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงได้มีการริเริ่มที่จะสร้างกลไกหรือกิจกรรมส่งเสริมให้คณาจารย์ต่างคณะทำงานโดยผ่านการร่วมดูแลให้คำปรึกษาโครงงานระดับปริญญาตรีร่วมกัน

รูปแบบการดำเนินการและแผนงาน

โครงการจะจัดสรรทุนสนับสนุนให้แก่โครงงานระดับปริญญาตรีที่สมัครเข้าร่วมโครงการและผ่านการคัดเลือกเป็นจำนวนเงินโครงการละ 25,000 บาท โดยต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมกันมากกว่าหนึ่งคณะขึ้นไป โดยรับสมัครจากทุกคณะในมจพ. การพิจารณาคัดเลือกจะดำเนินการโดยคณะกรรมการ โดยคัดเลือกจากเนื้อหาของบทคัดย่อหนึ่งหน้า A4 โดยจะให้การพิจารณาเป็นพิเศษแก่โครงการที่เป็นความความร่วมมือของกลุ่มคณาจารย์ที่ไม่เคยมีความร่วมมือกันมาก่อน หรือมีหลายคณะที่มีส่วนร่วมในโครงการ หรือเป็นหัวข้อวิจัยที่มีความน่าสนใจเป็นพิเศษ โดยถือการตัดสินของคณะกรรมการเป็นที่สิ้นสุด โดยทุนที่ให้เป็นทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์ วัสดุ หรือ ครุภัณฑ์ โดยเป็นการจ่ายตรงกับสมาคมศิษย์เก่า มจพ.ฯ

คณะกรรมการดำเนินการ
ศาสตราจารย์ ดร. นิสัย เฟื่องเวโรจน์สกุล หัวหน้าโครงการ
คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน (TGGS)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นภดล วิวัชรโกเศศ เลขานุการโครงการ
รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ อุทยานเทคโนโลยี
ผู้แทนจากหน่วยงานและคณะ
1. อุทยานเทคโนโลยี
2. สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. บัณฑิตวิทยาลัย
4. คณะวิศวกรรมศาสตร์
5. คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์
6. วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
7. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
8. คณะวิทยาศาสตร์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
9. คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
10. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล
11. บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน
แผนการดำเนินการและระยะเวลาดำเนินการ
  • รับสมัครผลงาน ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2566
  • การนำเสนอโครงการและการคัดเลือก 1 -15 กรกฎาคม 2566
  • ประกาศผลการคัดเลือก 31 กรกฎาคม 2566
  • จ่ายทุนงวดแรกจำนวน 15,000 บาท ในเดือนสิงหาคม 2566 และงวดที่สอง จำนวน 10,000 บาทภายหลังจากส่งผลงานเป็นโปสเตอร์และวิดีทัศน์ ในช่วง มกราคม – เมษายน 2567
คุณสมบัติและการรับสมัคร
  1. เป็นโครงงานปริญญานิพนธ์ที่ดำเนินการโดยนักศึกษาระดับปริญญาตรีจากส่วนงานระดับคณะใน มจพ. ที่มีกำหนดแล้วเสร็จในปีการศึกษา 2566 (สามารถเริ่มโครงการมาก่อนในภาคการศึกษา 2/2565 ได้)
  2. เป็นโครงงานที่มีคณะอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมดูแลโครงงาน มาจากมากกว่าหนึ่งคณะหรือส่วนงานขึ้นไป
  3. ให้อาจารย์ที่ปรึกษาหลักเป็นผู้กรอกใบสมัครและให้ข้อมูล พร้อมทั้ง Upload ไฟล์บทคัดย่อ (.doc) ที่มีชื่อหัวข้อ ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาทั้งหมด และชื่อนักศึกษาทั้งหมด บทคัดย่อและรูปประกอบหนึ่งรูป ความยาวหนึ่งหน้า A4 โดยใช้ Google form จากปุ่ม Register Here ด้านบน (ดูตัวอย่างบทคัดย่อ คลิกที่นี่)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นภดล วิวัชรโกเศศ
รองผู้อำนวยการอุทยานเทคโนโลยี

E-mail: nophadon.w@eng.kmutnb.ac.th
โทรศัพท์ 087 680 4874